บัตรเครดิตผลิตยังไง?
ขอบคุณรูปภาพจาก pngwing
บัตรเครดิตผลิตยังไง วันนี้เราไม่ได้จะมาสอนวิธีเรื่องการยื่นข้อมูลเพื่อขออนุมัติบัตรเครดิตจากธนาคารต่างๆ แต่เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการในการผลิตบัตรเครดิต ว่าบัตรเครดิตที่เราใช้มีที่มาอย่างไร ตัวหนังสือที่นูนขึ้นมาจากบัตรนั้นทำอย่างไร เพราะบัตรโดยปกติทั่วไปตัวหนังสือก็เรียบไปกับตัวบัตร แล้วทำไมบัตรถึงมีแถบแม่เหล็กด้านหลัง แถบลายเซ็นมาได้อย่างไร ตัวเลขหลังบัตรถูกพิมพ์ด้วยวิธีไหน โดยผมจะขอให้ข้อมูลโดยแยกเป็นแต่ละส่วนประกอบ
บัตรพลาสติก
บัตรพลาสติก สำหรับไว้ทำบัตรเครดิต จะมีราคาต้นทุนต่อใบที่สูงกว่าบัตรทั่วไป ด้วยออฟชั่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Chip สำหรับทำเป็นบัตร (Smart Card),ฟอยล์สะท้อนแสง, บัตรที่ถูกปริ้นมาแล้วเพื่อให้ได้สีที่ตรงกับธีมของธนาคารผู้ให้บริการ(Pre-print) ทั้งหมดที่ว่ามาเป็นเพียงแค่ส่วนของหน้าบัตรเท่านั้น!! ในส่วนของด้านหลังบัตรยังมี แถบแม่เหล็ก (Magnetic Encode) แถบลายเซ็นสำหรับผู้ถือบัตร (Signature Tab) เรียกได้ว่าออฟชั่นต่างๆจัดเต็ม เพื่อให้บัตรดูดี สวยงาม มีความเรียบหรู อีกทั้งยังมี Security ต่างๆภายในตัวบัตร เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือบัตรให้เป็นความลับ แต่สามารถนำไปใช้บริการตามที่ต่างๆที่ต้องการ โดยมีเพียงธนาคารและผู้ถือบัตรเท่านั้นที่รู้ข้อมูลภายในบัตร เพื่อตอบโจทย์การใช้งานสะดวกและปลอดภัย
เครื่องพิมพ์บัตร Embosser
เครื่องพิมพ์บัตร แบบ Embosser จะมีฟังก์ชั่นที่มากกว่าเครื่องพิมพ์บัตรทั่วไป นอกจากพิมพ์รูป พิมพ์ตัวอักษร เขียนอ่านสมาร์ทการ์ด เขียนอ่านแถบแม่เหล็ก ยังมีจุดเด่นที่สำคัญคือตัว Module ด้านล่าง สามารถพิมพ์ตัวอักษรนูนขึ้นมาจากพื้นผิวของบัตร ป้องกันการลอกเลียนแบบและมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครอย่างแน่นอน โดยหลักการที่ Embosser ทำให้ตัวอักษรมีความนูนขึ้นมานั้นจะใช้แม่พิมพ์ที่คล้ายกับตัวกดอักษรของเครื่องพิมพ์ดีด
Smart Card
บัตร Smart Card นิยมใช้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและอนุญาติให้อ่านได้เฉพาะผู้ใช้และผู้ผลิต ป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บัตรเครดิตจะมีฟังก์ชั่นของ Smart Card (Chip) เพื่อให้สะดวกในการใช้งานหรือเข้ารับบริการตามสถานที่ต่างๆ ที่รองรับการให้บริการบัตรเครดิต โดยเงื่อนไขการใช้งานก็ขึ้นอยู่กับผู้ถือบัตรที่จะต้องมีการ Verify ข้อมูลในขณะที่ใช้บัตรหรือไม่ เช่น การใส่รหัส การเซ็นลายเซ็น เป็นต้น
บัตรแถบแม่เหล็ก
Magstripe Card หรือ บัตรแถบแม่เหล็ก จะมีแถบสีดำอยู่ที่ด้านหลังบัตรเสมอ เจ้าแถบสีดำนี้เราเรียกกันว่า “แถบแม่เหล็ก” (Magnetic Stripe) มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลในภายในตัวมันเอง ไม่ให้สามารถมองเห็นข้อมูลส่วนตัวได้ด้วยตาเปล่า ต้องมีเครื่องมือในการอ่านและเขียนลงไปที่แถบแม่เหล็ก ข้อมูลที่เก็บไว้ในแถบแม่เหล็กส่วนใหญ่จะเป็นชุดตัวเลขและสัญลักษณต่างๆ เพราะตัวแถบแม่เหล็กเองจะมีการเก็บข้อมูลได้เพียงแค่ 3 ชุด โดยแต่ละชุดเรียกว่า “Track” ซึ่งมีเพียงแค่ Track1 เท่านั้นที่สามารถเก็บตัวอักษรภาษาอังกฤษ ในการใช้งานจริงจึงนิยมใส่เพียงเลขสมาชิกเพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนเวลาเข้ามาใช้บริการ แทนการที่ผู้ให้บริการต้องมาพิมพ์ตัวเลขลงในระบบ เปลี่ยนเป็นการรูดบัตรที่เครื่องอ่านจะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว
แถบลายเซ็น
แถบลายเซ็น เป็นพื้นที่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ถือบัตรสามารถเซ็นด้วยลายมือของตัวเองให้อยู่บนบัตรเพื่อยืนยันตัวตน ในกรณีที่เรานำบัตรเครดิตไปใช้ชำระของสินค้าและบริการ จะต้องมีการเซ็นใบเสร็จ จะทำให้พนักงานสามารถตรวจสอบว่าลายเซ็นของผู้ที่มาใช้บัตร ตรงกับลายเซ็นบนบัตรที่เป็นของผู้ถือบัตรหรือไม่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม บางองค์กรนำแถบลายเซ็นไปใช้ในการอนุมัติบัตรต่างๆโดยผู้ดูแลระบบ แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ชื่อว่า “Signature Pad” ใช้สำหรับเปลี่ยนลายเซ็นให้อยู่ในรูปแบบของ Graphic แล้ววางที่ตำแหน่งไหนของบัตรก็ได้ แทนที่จะเป็นการเซ็นแบบเดิมที่ต้องเซ็นลงบนแถบลายเซ็นที่ผลิตมาพร้อมกับบัตรเท่านั้น
มาตรฐาน ISO
ในการผลิตบัตรเครดิตไม่ใช่ว่ามีเครื่องจักร มีกำลังคน ก็สามารถผลิตและนำมาใช้งานได้ แต่โรงงานที่ผลิตต้องผ่านการทดสอบ ตามมาตรฐานสากล บัตรที่ผลิตออกมาทุกใบต้องตรงตามกฏเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้ทั่วโลกยอมรับ เพราะบัตรเครดิตที่ได้รับการตีตราจากสถาบันการเงินต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก ดังนั้นการที่ผู้ผลิตมี Certificate จากหน่วยงานที่เป็นผู้ดูแลเรื่องความปลอดภัยและมาตรฐานสากล จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
บัตรเครดิตผลิตยังไง วันนี้เราไม่ได้จะมาสอนวิธีเรื่องการยื่นข้อมูลเพื่อขออนุมัติบัตรเครดิตจากธนาคารต่างๆ แต่เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการในการผลิตบัตรเครดิต ว่าบัตรเครดิตที่เราใช้มีที่มาอย่างไร ตัวหนังสือที่นูนขึ้นมาจากบัตรนั้นทำอย่างไร เพราะบัตรโดยปกติทั่วไปตัวหนังสือก็เรียบไปกับตัวบัตร แล้วทำไมบัตรถึงมีแถบแม่เหล็กด้านหลัง แถบลายเซ็นมาได้อย่างไร ตัวเลขหลังบัตรถูกพิมพ์ด้วยวิธีไหน โดยผมจะขอให้ข้อมูลโดยแยกเป็นแต่ละส่วนประกอบ
บัตรพลาสติก
บัตรพลาสติก สำหรับไว้ทำบัตรเครดิต จะมีราคาต้นทุนต่อใบที่สูงกว่าบัตรทั่วไป ด้วยออฟชั่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Chip สำหรับทำเป็นบัตร (Smart Card),ฟอยล์สะท้อนแสง, บัตรที่ถูกปริ้นมาแล้วเพื่อให้ได้สีที่ตรงกับธีมของธนาคารผู้ให้บริการ(Pre-print) ทั้งหมดที่ว่ามาเป็นเพียงแค่ส่วนของหน้าบัตรเท่านั้น!! ในส่วนของด้านหลังบัตรยังมี แถบแม่เหล็ก (Magnetic Encode) แถบลายเซ็นสำหรับผู้ถือบัตร (Signature Tab) เรียกได้ว่าออฟชั่นต่างๆจัดเต็ม เพื่อให้บัตรดูดี สวยงาม มีความเรียบหรู อีกทั้งยังมี Security ต่างๆภายในตัวบัตร เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือบัตรให้เป็นความลับ แต่สามารถนำไปใช้บริการตามที่ต่างๆที่ต้องการ โดยมีเพียงธนาคารและผู้ถือบัตรเท่านั้นที่รู้ข้อมูลภายในบัตร เพื่อตอบโจทย์การใช้งานสะดวกและปลอดภัย
เครื่องพิมพ์บัตร Embosser
เครื่องพิมพ์บัตร แบบ Embosser จะมีฟังก์ชั่นที่มากกว่าเครื่องพิมพ์บัตรทั่วไป นอกจากพิมพ์รูป พิมพ์ตัวอักษร เขียนอ่านสมาร์ทการ์ด เขียนอ่านแถบแม่เหล็ก ยังมีจุดเด่นที่สำคัญคือตัว Module ด้านล่าง สามารถพิมพ์ตัวอักษรนูนขึ้นมาจากพื้นผิวของบัตร ป้องกันการลอกเลียนแบบและมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครอย่างแน่นอน โดยหลักการที่ Embosser ทำให้ตัวอักษรมีความนูนขึ้นมานั้นจะใช้แม่พิมพ์ที่คล้ายกับตัวกดอักษรของเครื่องพิมพ์ดีด
Smart Card
บัตร Smart Card นิยมใช้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและอนุญาติให้อ่านได้เฉพาะผู้ใช้และผู้ผลิต ป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บัตรเครดิตจะมีฟังก์ชั่นของ Smart Card (Chip) เพื่อให้สะดวกในการใช้งานหรือเข้ารับบริการตามสถานที่ต่างๆ ที่รองรับการให้บริการบัตรเครดิต โดยเงื่อนไขการใช้งานก็ขึ้นอยู่กับผู้ถือบัตรที่จะต้องมีการ Verify ข้อมูลในขณะที่ใช้บัตรหรือไม่ เช่น การใส่รหัส การเซ็นลายเซ็น เป็นต้น
บัตรแถบแม่เหล็ก
Magstripe Card หรือ บัตรแถบแม่เหล็ก จะมีแถบสีดำอยู่ที่ด้านหลังบัตรเสมอ เจ้าแถบสีดำนี้เราเรียกกันว่า “แถบแม่เหล็ก” (Magnetic Stripe) มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลในภายในตัวมันเอง ไม่ให้สามารถมองเห็นข้อมูลส่วนตัวได้ด้วยตาเปล่า ต้องมีเครื่องมือในการอ่านและเขียนลงไปที่แถบแม่เหล็ก ข้อมูลที่เก็บไว้ในแถบแม่เหล็กส่วนใหญ่จะเป็นชุดตัวเลขและสัญลักษณต่างๆ เพราะตัวแถบแม่เหล็กเองจะมีการเก็บข้อมูลได้เพียงแค่ 3 ชุด โดยแต่ละชุดเรียกว่า “Track” ซึ่งมีเพียงแค่ Track1 เท่านั้นที่สามารถเก็บตัวอักษรภาษาอังกฤษ ในการใช้งานจริงจึงนิยมใส่เพียงเลขสมาชิกเพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนเวลาเข้ามาใช้บริการ แทนการที่ผู้ให้บริการต้องมาพิมพ์ตัวเลขลงในระบบ เปลี่ยนเป็นการรูดบัตรที่เครื่องอ่านจะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว
แถบลายเซ็น
แถบลายเซ็น เป็นพื้นที่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ถือบัตรสามารถเซ็นด้วยลายมือของตัวเองให้อยู่บนบัตรเพื่อยืนยันตัวตน ในกรณีที่เรานำบัตรเครดิตไปใช้ชำระของสินค้าและบริการ จะต้องมีการเซ็นใบเสร็จ จะทำให้พนักงานสามารถตรวจสอบว่าลายเซ็นของผู้ที่มาใช้บัตร ตรงกับลายเซ็นบนบัตรที่เป็นของผู้ถือบัตรหรือไม่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม บางองค์กรนำแถบลายเซ็นไปใช้ในการอนุมัติบัตรต่างๆโดยผู้ดูแลระบบ แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ชื่อว่า “Signature Pad” ใช้สำหรับเปลี่ยนลายเซ็นให้อยู่ในรูปแบบของ Graphic แล้ววางที่ตำแหน่งไหนของบัตรก็ได้ แทนที่จะเป็นการเซ็นแบบเดิมที่ต้องเซ็นลงบนแถบลายเซ็นที่ผลิตมาพร้อมกับบัตรเท่านั้น
มาตรฐาน ISO
ในการผลิตบัตรเครดิตไม่ใช่ว่ามีเครื่องจักร มีกำลังคน ก็สามารถผลิตและนำมาใช้งานได้ แต่โรงงานที่ผลิตต้องผ่านการทดสอบ ตามมาตรฐานสากล บัตรที่ผลิตออกมาทุกใบต้องตรงตามกฏเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้ทั่วโลกยอมรับ เพราะบัตรเครดิตที่ได้รับการตีตราจากสถาบันการเงินต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก ดังนั้นการที่ผู้ผลิตมี Certificate จากหน่วยงานที่เป็นผู้ดูแลเรื่องความปลอดภัยและมาตรฐานสากล จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
จากข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบของบัตร Credit ที่ผมได้ให้ไว้ข้างต้น จะมีประโยชน์แก่ผู้อ่าน ถึงแม้คุณจะไม่ใช่ธนาคารที่มีหน้าที่ในการให้บริการบัตรเครดิต แต่ฟังต์ชั่นต่างๆที่ใช้ในการผลิตบัตรเครดิตนั้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตบัตรของคุณ เพื่อเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้นไป
ติดต่อมาได้เลยนะครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา
เครื่องพิมพ์บัตร , บัตรพลาสติก