เครื่องพิมพ์บัตร
กับการเข้ารหัสข้อมูล
การเข้ารหัส (Encode) ข้อมูล หมายถึงการเพิ่มข้อมูลบางอย่างที่ไม่ต้องการให้แสดงบนบัตร แต่ให้เก็บข้อมูลไว้ในบัตร เพื่อที่จะเรียกขึ้นมาใช้งานด้วยเครื่องอ่านเฉพาะ เป็นการป้องกันข้อมูลที่สำคัญ ยากต่อการเข้าถึงข้อมูลภายใน และขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะกำหนดไว้ในลักษณะใด วิธีการทำงาน คือ เครื่องพิมพ์บัตร จะต้องมีฟังก์ชั่นสำหรับรองรับการพิมพ์แบบ เข้ารหัส ส่วนวัสดุหรือบัตรที่นำมาพิมพ์ก็ต้องรองรับการทำงานในลักษณะนี้ด้วย โดยการใช้ บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Stripe) หรือ บัตรสมาร์ทการ์ด (Chip)
ทำไมต้องเข้ารหัสข้อมูล?
เก็บข้อมูลในบัตรได้มากขึ้น การ Encode จะทำให้เราใส่ข้อมูลจำนวนมากลงไปในบัตรโดยใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลน้อย เพราะ Magnetic Stripe หรือ Chip มีความจุที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งข้อมูลที่ถูกเพิ่มลงไปในบัตรยังไม่กระทบกับรูปแบบบนหน้าบัตร ทำให้บัตรยังคงมีความสวยงามเหมือนตอนที่ออกแบบไว้แต่มีข้อมูลการใช้งานที่มากขึ้น
แก้ไขข้อมูลได้ง่าย บัตรที่ถูกเก็บข้อมูลด้วยการเข้ารหัส สามารถแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมภายในได้อยู่ตลอด ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ส่วนข้อมูลที่อยู่บนหน้าบัตร เช่น ตัวอักษรนั้นจะไม่สามารถแก้ไขได้ จึงทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานสำหรับผู้ที่มีความต้องการแก้ไขข้อมูลในบัตรอยู่เสมอ
ป้องกันการลอกเลียนแบบข้อมูลในบัตร ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะจะต้องมีเครื่องอ่านข้อมูลเฉพาะ ขั้นตอนแรกในการป้องกันข้อมูลภายในบัตรแต่ระดับของความปลอดภัยขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ใช้งานที่ต้องการกำหนดการอ่านข้อมูลว่าต้องมีรหัสสำหรับการอ่านและการเขียน เพื่อป้องกันการทำซ้ำจากบุคคลที่ไม่ประสงค์ดี
สะดวกในการผลิต การเข้ารหัสไม่ได้ทำยากอย่างที่คิด เพราะเครื่องพิมพ์บัตรที่มีฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้ารหัสข้อมูลให้เราได้เองโดยอัตโนมัติ เพียงแค่เรานำเข้าข้อมูลให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการผิดพลาดระหว่างข้อมูลที่เข้ารหัสและข้อมูลที่แสดงบนหน้าบัตรจะตรงกันเสมอ ซึ่งต่างจากการที่ให้คนเข้ารหัสบัตรเองเพราะจะมีโอกาสผิดพลาดสูง และบัตรที่เข้ารหัสจะมีราคาสูงกว่าบัตรทั่วไปอีกด้วย ความผิดพลาดจึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้
การเข้ารหัสข้อมูลมีกี่แบบอะไรบ้าง?
การเข้ารหัสแถบแม่เหล็ก (Magnetic stripe) ข้อมูลจะถูกบันทึกลงในแถบสีดำด้านหลังบัตรพลาสติก โดยแถบแม่เหล็กด้านหลังจะมีความทนทานต่อลอยขีดข่วนต่างๆ เพื่อป้องกันข้อมูลที่ถูกบันทึกภายในไม่ให้เสียหาย โดยจำแนกออกเป็น 2 ระดับ
1. มีความต้านทานสูงหรือ HiCO (High Coercivity)
2. ความต้านทานต่ำ LoCo (Low Coercivity)
1. มีความต้านทานสูงหรือ HiCO (High Coercivity)
2. ความต้านทานต่ำ LoCo (Low Coercivity)
การเข้ารหัสแบบชิปสัมผัส (Contact Chip) มีความจุมากกว่าแถบแม่เหล็ก 100 เท่า เราสามารถมองเห็นชิปได้ โดยเราสามารถใส่ข้อมูลลงในชิปได้ โดยข้อมูลนั้นไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่บัตรประเภทนี้ต้องการเครื่องอ่านที่มีการสัมผัสกับตัวชิป พบเห็นได้ทั่วไปในงานของ บัตรประชาชน บัตรเอทีเอ็ม เป็นต้น
การเข้ารหัสแบบชิปไร้สัมผัส (Contactless Chip) มีเทคโนโลยีหลายประเภท ชิปแบบส่งคลื่นความถี่ หรือ การใช้ขดลวด Antenna โดยการใช้งานตัวชิปไม่ต้องสัมผัสกับเครื่องอ่านโดยตรง แต่จะมีระยะในการติดต่อกันโดยใช้คลื่นสัญญาณ ระยะในการอ่านขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เช่น บัตรรถไฟฟ้า บัตรที่สามารถใช้เข้าออกประตู เป็นต้น และใช้เทคโนโลยีนี้กับระบบ Access Control ในรูปแบบของ Easy Pass & Car Parking
เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านตัดสินใจในการเลือกเครื่องพิมพ์บัตร หลักการในการใช้งานให้เหมาะสมกับรูปแบบองค์กรณ์ของท่าน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร
สนใจรับชมสินค้า เครื่องพิมพ์บัตร