สเปคของเครื่องพิมพ์บัตร
เทคโนโลยีการพิมพ์บัตร Print Technology
เทคโนโลยีในการพิมพ์บัตรถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการเลือกเครื่องพิมพ์บัตร ถ้าเปรียบกับรถคงเปรียบเหมือนเครื่องยนต์เบนซินกับดีเซล โดยหลักการเครื่องพิมพ์บัตรก็ถูกแบ่งเทคโนโลยีการพิมพ์ออกเป็น 2 ประเภทเช่นกัน โดยถูกแบ่งตามลักษณะของการใช้ความร้อนในการพิมพ์บัตร
1. Dye-Sublimation คือ การพิมพ์โดยการใช้ความร้อนทำให้สีระเหยและแห้งลงบนบัตร จะทำให้สีฝังลงไปเป็นเนื้อเดียวกันกับบัตร โดยจะเป็นการพิมพ์ทีละช่วงของสี โดยผสมจากแม่สี YMC นอกจากสีแล้วยังสามารถทำงานร่วมกับริบบอนดำหรือตัวเคลือบได้อีกด้วย เรียกได้ว่าตอบโจทย์การใช้งาน เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่เครื่องพิมพ์บัตรทั่วไปต้องมี
2. Retransfer คือ การพิมพ์โดยใช้หลอดแก้วความร้อน เร่งความร้อนให้สูงที่สุด แล้วรีดฟิล์มที่ถูกพิมพ์เป็นรูปมาแล้วลงบนบัตรโดยตรง ตัวเครื่องพิมพ์ต้องมีการจัดการความร้อนที่ดี เพราะการพิมพ์ลักษณะนี้จะใช้ความร้อนสูงกว่าอาจจะทำให้บัดงอจากความร้อนได้ เป็นเทคโลโนยีที่สูงกว่าแบบ Dye-Sublimation และมีราคาสุงกว่าพอสมควร แต่เหมาะกับการใช้งานพิมพ์สีเต็มใบ
อ่านบทความเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการพิมพ์บัตร
ความสามารถในการพิมพ์บัตร Print Capability
เดิมทีเครื่องพิมพ์บัตรจะพิมพ์ได้แค่ทีละด้านต่อการสั่งพิมพ์ 1 ครั้งซึ่งเป็นพื้นฐานของเครื่องพิมพ์บัตร เราเรียกว่า One-sided(Simplex) แต่ถ้าเราเพิ่มอุปกรณ์ในการกลับบัตรเข้าไปจะทำให้เครื่องพิมพ์บัตรสามารถกลับบัตรได้เองโดยอัตโนมัติเมื่อเราสั่งพิมพ์รูปแบบที่ต้องพิมพ์ทั้งด้านหน้าบัตรและหลังบัตร เรียกว่า Two-sided(Duplex) ทั้งนี้ยังมี อุปกรณ์เสริมอีกมากมายที่เราสามารถหามาปรับแต่งเครื่องพิมพ์บัตรของเราได้เพื่อเพิ่มความสามารถ
ความละเอียดในการพิมพ์บัตร Print Resolution
ความเร็วในการพิมพ์บัตร Print Speed
ความเร็วในการพิมพ์บัตรถือว่ามีส่วนสำคัญกับผู้ใช้ที่ต้องการนำไปใช้พิมพ์บัตรเป็นจำนวนมากต่อวัน แต่หากผู้ใช้ไม่ได้พิมพ์บัตรจำนวนมากเรื่องความไวจึงไม่จำเป็นต้องกังวลเท่าไหร่นัก เราจะมาบอกว่าส่วนใดบ้างที่มีผลต่อความเร็วในการพิมพ์บัตร
การดึงบัตร – การดึงบัตรเข้าเครื่องพิมพ์คือจุดเริ่มต้นเมื่อเราสั่งพิมพ์บัตร หากบัตรเข้ายากหรือเข้าไปในเครื่องมากกว่า 1 ใบในครั้งเดียว อาจทำให้การทำงานมีปัญหาทำให้ล่าช้า การปรับความเร็วมอเตอร์ในการดึงบัตรก็สามารถช่วยเพิ่มความไวได้อีกทางหนึ่ง
ลูกยาง – ลูกยางจะเป็นตัวลำเลียงบัตรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆภายในเครื่อง การที่ลูกยางเสื่อมหรือสกปรก อาจะทำให้การเคลื่อนที่ของบัตรเกิดความล่าช้า
การพิมพ์ – เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดและมีผลกับความไวในการพิมพ์ต่อใบมาก โดยปกติการพิมพ์จะใช้เวลาเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับประเภทของริบบอนที่เราใช้ด้วย การพิมพ์สีดำสีเดียวจะได้ความเร็วที่ไวกว่าพิมพ์ริบบอนสีถึง 5 เท่า เหตุเพราะการพิมพ์ดำจะใช้ริบบอนแค่ Panel เดียว คือ สีดำ แต่การพิมพ์สีจะใช้ริบบอนทั้งหมด 5 Panel คือ YMCKT
อ่านบทความเพิ่มเติม เครื่องพิมพ์บัตรทำอะไรได้บ้าง
ช่องบัตรเข้าและบัตรออก Card Capacity
ช่องใส่บัตร Input Hopper จำนวนบัตรที่เราใส่ได้ต่อครั้งสูงสุดจะขึ้นอยู่กับ Capacity ของช่องใส่บัตร แต่ไม่ต้องกังวลเพราะบัตรเราสามารถเพิ่มได้ตลอดในระหว่างที่เครื่องกำลังทำงานอยู่ แต่สำหรับบางท่านที่ต้องการเพิ่ม Maximum ของช่องใส่บัตรเราก็มีอุปกรณ์เสริม อีกทั้งเรายังมี Module ที่สามารถใส่บัตรพร้อมกันได้ถึง 6 แบบ เหมาะกับท่านที่มีต้องการใช้งานบัตร Pre-Print หลายแบบพร้อมๆกันไม่ต้องคอยสับเปลี่ยนประเภทบัตรเมื่อต้องการพิมพ์
ช่องบัตรออก Output Hopper บัตรที่พิมพ์สำเร็จจะออกมาอยู่ที่ช่องบัตรออก มีความสำคัญในกรณีที่ท่านต้องการเรียงบัตรให้ตรงตามลำดับการพิมพ์ สามารถเพิ่ม Maximum ของช่องบัตรออกได้
ช่องบัตรเสีย Reject Hopper ช่องที่จะคอยเก็บบัตรที่พิมพ์ไม่สำเร็จหรือมีปัญหา เพื่อให้เราสามารถแยกได้ทันทีว่ามีบัตรดีและบัตรเสียกี่ใบ สะดวกต่อผู้ใช้งานในการ QC บัตรหลังจากพิมพ์เสร็จ
ขนาดของเครื่องพิมพ์บัตร Physical Dimensions
เราหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์แก่ผู้ที่กำลังหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องพิมพ์บัตร ควรซื้อแบบไหนถึงจะตอบโจทย์กับงานที่ต้องการ และใช้งานได้นานที่สุด เพราะ เครื่องพิมพ์บัตรโดยปกติจะมีอายุการใช้งาน 5 ปีขึ้นไป สนใจรับชมสินค้า เครื่องพิมพ์บัตร คลิกได้เลย